นายกบิล ช่วยไว้
ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนประจำ ศศช.บ้านห้วยตุ๊
ศศช.บ้านห้วยตุ๊
สภาพพื้นที่ / การปกครอง และประชากร
ที่ตั้งอยู่ที่ บ้านสองพี่น้อง(ห้วยตุ๊) หมู่ที่ 5 ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ครอบคลุมพื้นที่ ประมาณ 450 ไร่ บ้านห้วยตุ๊เป็นหมู่บ้านบริวารของบ้านสองพี่น้องห้วยสา มีลักษณะภูมิประเทศบางส่วนเป็นภูเขาบางส่วนเป็นที่ราบลุ่ม มีภูเขาล้อมรอบ อยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงของประมาณ 29 กิโลเมตร ประชากรประกอบไปด้วยชาติพันธุ์ไทลื้อ และอาข่า ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ( ปลูกข้าวโพด ถั่วแขก ข้าวไร่ ยางพารา และเลี้ยงสัตว์ )
รูปแบบสังคม
ไทลื้อบ้านห้วยตุ๊ การปฏิสัมพันธ์ทางสังคมสังคมส่วนใหญ่จะกระทำในกลุ่มไทลื้อด้วยกันเองเช่นการแต่งงานก็จะแต่งในกลุ่มไทลื้อด้วยกันเป็นส่วนใหญ่ ความสัมพันธ์ชุมชนจึงเป็นลักษณะเครือญาตินอกจากนี้ระบบคิดความเชื้อของชาวไทลื้อยังเกี่ยวข้องกับธรรมชาติ ภูเขา แม่น้ำ ป่าไม้ วิถีชีวิตโดยทั่วไปโดยเฉพาะความเชื่อศาสนาพุทธแล้วจะใกล้เคียงกับคนเมือง
อาข่าบ้านห้วยตุ๊ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีประชากรน้อยหากเทียบกับไทลื้ออาข่ามีความเชื่อเรื่องพระเจ้าเนื่องจากในชุมชนอาข่าบ้านห้วยตุ๊มีโบสถ์คาทอลิกและมีผู้นำทางศาสนาที่ชาวอาข่าให้ความเคารพนับถือประชากรส่วนใหญ่จึงนับถือศาสนาคริสต์
สำหรับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างไทลื้อและอาข่าบ้านห้วยตุ๊เป็นไปด้วยดีมีการพึ่งพาระหว่างกันและกันการนับถือศาสนาต่างกัน วิถีการดำเนินชีวิตที่ค่อนข้างต่างกันไม่เป็นอุปสรรคในการให้ความร่วมมือในกิจกรรมงานหมู่บ้านให้เป็นไปในทางที่ดี ปัจจุบันมีการเข้ามาอาศัยในชุมชนบ้านห้วยตุ๊จากคนหลากหลายถิ่น ไม่ว่าจะมาจากภาคใต้ ภาคอีสาน แต่การอยู่ร่วมกันก็เป็นไปด้วยสัมพันธไมตรีที่ดี
ลักษณะการตั้งบ้านเรือน
ลักษณะการตั้งบ้านเรือนส่วนมากเป็นบ้านก่ออิฐถือปูน จะเป็นบ้านไม้ใต้ถุนสูงเป็นส่วนน้อยอณาเขตในพื้นที่บ้านบ้านจะแบ่งแยกโดยชัดเจนแต่สำหรับชนเผ่าอาข่าบ้านห้วยตุ๊ลักษณะการตั้งบ้านเรือนคล้ายกับไทลื้อบ้านห้วยตุ๊จะต่างกันแต่อณาเขตบ้านจะไม่แบ่งแยกกันชัดเจนจะเป็นอาณาเขตติด ๆ กันไป
ที่ตั้ง
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยตุ๊ หมู่ที่ 5 ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เบอร์โทรศัพท์ 0648258571 อีเมล์ bin.2517@gmail.com
- เส้นทางหลวงหมายเลข 1020 จากจังหวัดเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอเวียงเชียงรุ้ง อำเภอเชียงของ ถึง บ้านห้วยตุ๊ ถนนราดยางแอสฟัลท์ ระยะทาง 140 กิโลเมตร
- เส้นทางหลวงหมายเลข 1020 จากจังหวัดเชียงราย อำเภอเวียงชัย อำเภอพญาเม็งราย อำเภอเชียงของ ถึง บ้านห้วยตุ๊ ถนนราดยางแอสฟัลท์ ระยะทาง 100 กิโลเมตร
ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านเมืองต้นผึ้งแขวงบ่อแก้ว โดยมีแม่น้ำโขงเป็นเส้นกั้นอาณาเขต
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านห้วยสา ม.5 ต.ริมโขง อ.เชียงของ
ทิศใต้ ติดต่อเทือกเขาบ้านกิ่วกาญจน์ ม.6 ต.ริมโขง อ.เชียงของ
ทิศตะวันตก ติดต่อกับบ้านหาดบ้าย หมู่ 1 และบ้านหาดทรายทอง หมู่8 ต.ริมโขง อ.เชียงของ
บทบาทหน้าที่ภารกิจ ของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”
1. ให้บริการและจัดกิจกรรมการศึกษาแก่เด็กและผู้ใหญ่ และใช้หลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 รวมทั้งสื่อการเรียนการสอนประกอบหลักสูตร
2. ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ
ต้องการของท้องถิ่น
3. สร้างหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน (การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น)
4. จัดทำแผนการดำเนินงานในแต่ละเดือน/ปี
5. จัดทำรายงานการปฏิบัติงานประจำเดือนส่งให้แก่ครูนิเทศก์ และผู้บริหารตามสายงานบังคับบัญชา
6. ประเมินผลการเรียนการสอนของผู้เรียน ประเมินผลการจบหลักสูตรของผู้เรียนร่วมกับ
กรรมการหมู่บ้าน ครูนิเทศและเจ้าหน้าที่อื่นๆ ที่กำหนดไว้ และประเมินผล/สรุปการจัดกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
7. จัดทำบันทึกประจำวันประจำไว้ที่ศูนย์การเรียนฯเพื่อให้เป็นข้อมูลและประวัติการทำงานของหมู่บ้าน ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สำหรับเจ้าหน้าที่ทุกฝ่าย รวมทั้งเมื่อมีกรณีครูลาออกจากการปฏิบัติงาน และครูใหม่เข้าไปปฏิบัติงานแทน จะสามารถศึกษาประวัติการทำงานและสานต่อการทำงานในหมู่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ
8. รับผิดชอบ เก็บรักษา และทำบัญชีวัสดุ ครุภัณฑ์ ของศูนย์การเรียนฯ
9. งานธุรการอื่น ๆ ได้แก่
9.1 งานทะเบียน ทะเบียนผู้เรียน / ผู้รับบริการ
9.1 งานสารบรรณ โต้ตอบหนังสือราชการ
9.2 บันทึกการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
9.3 แผนการจัดการเรียนรู้
9.4 จัดหา/จัดสมุดบันทึกการนิเทศ สำหรับให้ครูนิเทศ ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้นิเทศภายนอก เช่น ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสำนักงาน กศน.จังหวัด คณะกรรมการนิเทศ
9.5 จัดหา/จัดทำ สมุดเซ็นต์เยี่ยม
9.6 จัดทำแผนการปฏิบัติงานของครูอื่น ๆ
10. จัดทำข้อมูลสารสนเทศของหมู่บ้าน / ชุมชน
11. จัดสภาพแวดล้อม จัดสภาพแวดล้อมภายในศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ให้เหมาะสมกับสภาพการเรียนของผู้เรียน ดูแลความสะอาด ห้องนอน ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องเก็บของ และห้องเรียน ให้มีความสะอาดร่มรื่นสวยงามปลอดภัย เหมาะสมและมีบรรยากาศเอื้อต่อการส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นทั้งห้องสมุด ห้องเรียนและที่พักครูมีความมั่นคงแข็งแรงเหมาะสมกับการจัดกิจกรรม เช่น ส่วนที่นั่ง พื้นที่จัดกิจกรรมอภิปรายกลุ่ม ห้องครัว ห้องน้ำ ห้องพักครู ที่เก็บสื่อ และอื่น ๆ ได้แก่
1) ปรัชญา วิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ ของสถานศึกษา (กศน.อำเภอ)
2) มุมเฉลิมพระเกียรติ
3) มีข้อมูลพื้นฐานชุมชน ประวัติชุมชน ประวัติชนเผ่า ประเพณี วัฒนธรรม
4) แผนผังหมู่บ้าน ทำเนียบผู้นำ กรรมการศูนย์การเรียน
5) โครงสร้างบุคลากร กิจกรรมการดำเนินงานของ ศศช.
6) ข้อมูลสถิติผู้เรียน
7) ทะเบียนผู้เรียน ทะเบียนผู้ไม่รู้หนังสือ
8) ข้อมูลแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
9) โครงสร้างหลักสูตร
10) สมุดนิเทศ (สำหรับครูนิเทศ ผู้นิเทศภายใน และผู้นิเทศภายนอก บันทึก )
11) สมุดบันทึกการเยี่ยม (สำหรับบุคคลภายนอกที่มาเยี่ยมการจัดกิจกรรมใน ศศช.(บันทึกเยี่ยม )
12) แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้
13) แบบบันทึกหลังการสอน
14) มุมการศึกษาทางไกล (โทรทัศน์ สื่อมัลติมีเดียต่าง ๆ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทีวี ไอที )
15) มุมส่งเสริมการอ่าน
16) บอร์ดนิทรรศการวันสำคัญ
17) มุมสื่อการสอน
18) มุมส่งเสริมการเรียนรู้ เช่น มุมอาเซียน บุคคลสำคัญ เป็นต้น
19) มุมแสดงผลงาน/ข้อมูล มุมฝึกปฏิบัติการในห้องเรียน
12. จัดสภาพแวดล้อมภายนอกศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” ให้เหมาะสมกับผู้เรียน / ผู้รับบริการ และพัฒนาของเด็กก่อนวัยเรียน (ที่อาจมี) เช่น สนามเด็กเล่น สถานที่ฝึกปฏิบัติการเกษตรกรรม (แปลงผัก สถานที่เลี้ยงสัตว์ บ่อปลา สวนไม้ผล สวนไม้ดอก อื่น ๆ ) สถานที่พักผ่อน และอื่น ๆ ได้แก่
1) มีป้าย ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยตุ๊
2) เสาธงชาติ ธงอาเซียน
3) มีลานกิจกรรม สนามเด็กเล่น
4) มีการปลูกไม้ดอก ไม้ประดับ
5) มีป้ายแผนการปฏิบัติงานของครู
6) มีบอร์ดประกาศ ประชาสัมพันธ์
7) มีบอร์ดนิทรรศการงานสำคัญ
8) มีแหล่งเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
9) มีแปลงพืชผักสวนครัว และโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
10) มีป้ายสุภาษิต คำคม ภาษาล้านนา ติดให้ความรู้ตามต้นไม้ หรือนอกอาคาร
11) มีการจัดการขยะ มีถังขยะแยกประเภท
13. การจัดสภาพแวดล้อมในชุมชน ซึ่งถือเป็นแหล่งเรียนรู้และนำกิจกรรมการเรียนรู้ที่จำเป็น สำหรับผู้เรียนนำไปปฏิบัติจริง เช่น การจัดการบ้านเรือนให้สะอาด เป็นระเบียบ การเกษตรกรรม ทำป้ายนิเทศ ประกาศขาวชุมชน สถานที่ฝึกอาชีพ/ฝึกปฏิบัติ สถานที่ทำเวทีชาวบ้าน อื่น ๆ
14. ประสานงานการให้บริการของศูนย์การเรียนฯ ในรูปแบบต่างๆ ให้ข้อมูล ข่าวสาร เน้นให้บุคลากรในชุมชนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานและจัดให้สนองกับความต้องการของชุมชน
15. ศึกษาชุมชน ใช้ชีวิตร่วมกับชุมชน ศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวเขาและสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมทั้งภาษา ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละชุมชน
16. ให้คำแนะนำทางด้านสุขภาพอนามัย บริการสาธารณสุขมูลฐานเท่าที่จำเป็นและประสานงานกับหน่วยงานทางด้านสาธารณสุขในระดับท้องถิ่น
17. ประสานงานด้านการเกษตร เพื่อปรับปรุงอาชีพและการทำมาหากินของชาวบ้าน
18. ประสานงานและให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่หน่วยงานอื่นที่รับผิดชอบในชุมชนนั้นและร่วมมือในการพัฒนาด้านต่างๆ
19. ปฏิบัติงานตามคำแนะนำในคู่มือการดำเนินงานของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง”
คณะกรรมการ ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยตุ๊
1. นายสะอาด แสงศรีจันทร์ ตำแหน่ง ผู้นำหมู่บ้าน ประธานกรรมการ
2.นายปรพล แสนคำลือ ตำแหน่งกรรมการหมู่บ้าน บ้านห้วยตุ๊ กรรมการ
3.นายปู้คือ กุเลา ตำแหน่งกรรมการหมู่บ้าน บ้านห้วยตุ๊ กรรมการ
4.นายหล้า เชอมือ ตำแหน่งกรรมการหมู่บ้าน บ้านห้วยตุ๊ กรรมการ
5.นายแจหล้า มาเยอะ ตำแหน่งกรรมการหมู่บ้าน บ้านห้วยตุ๊ กรรมการ
6.นายนฤเบศ คำลือ ตำแหน่งกรรมการหมู่บ้าน บ้านห้วยตุ๊ กรรมการ
7.นายเทียนชัย ธรรมวงค์ ตำแหน่งกรรมการหมู่บ้าน บ้านห้วยตุ๊ กรรมการ
8.นายจันทร์ พรมธิ ตำแหน่งผู้ประกอบพิธี บ้านห้วยตุ๊ กรรมการ
9.นายสมอก คำลือ ตำแหน่งประธาน อสม. บ้านห้วยตุ๊ กรรมการและเลขานุการ
10.นางสาวอริสรา ชัยวงค์ ตำแหน่งประธานแม่บ้าน บ้านห้วยตุ๊ กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
องค์กรนักศึกษา ประจำศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยตุ๊
- นายโกโซ แซ่ก่อ
- นายสาม ชัยวงค์
- นายอามิ่ง คำมูล
- นางสาวอริสรา ชัยวงค์
- นางสาวสุชาดา กุเลา
- นางสาวอาเดาะ แชมือ
บุคลากร ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยตุ๊
๑. (ชื่อ – สกุล ครู) นายกบิล ช่วยไว้
๑.(ชื่อ – สกุล ครูนิเทศก์) นายกบิล ช่วยไว้
สภาพทั่วไปของศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา “แม่ฟ้าหลวง” บ้านห้วยตุ๊
บ้าน ห้วยตุ๊ มีอาณาเขตทิศเหนือติดกับแนวแม่น้ำโขง ทิศใต้ติดกับเทือกเขาบ้านกิ่วกาญจน์ทิศตะวันออกติดกับบ้านสองพี่น้อง(ห้วยสา)ทิศตะวันตกติดกับพื้นที่บ้านหาดทรายทอง ต.ริมโขง ประกอบไปด้วยประชากรส่วนใหญ่ เชื้อชาติ ไทยลื้อและอาข่า มีจำนวนหลังคาเรือน 72 หลังคาเรือนประชากร 330 คน พื้นที่ ศศช. มีขนาด 2 งาน อยู่ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสองพี่น้อง ตัวอาคารศศช.มีขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 18 เมตร มีไฟฟ้าใช้และอุปกรณ์สื่อสารใช้โทรศัพท์มือถือใช้สัญญานสัญญานอินเตอร์เนตต์ TOT
การจัดการศึกษาสำหรับชุมชนบนพื้นที่สูง (ศศช.)
เมื่อปี 2523 กรมการศึกษานอกโรงเรียน (กศน.) ในขณะนั้น ได้จัดตั้งศูนย์การศึกษาเพื่อชุมชนในเขตภูเขา (ศศช.) ขึ้นโดยส่งครูอาสา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ครูดอย 1-2 คนเข้าไปฝังตัวพักอยู่กับประชาชน ในชุมชนและมีการสร้างอาคารขนาดเล็กเรียกว่า อาศรม ด้วยวัสดุท้องถิ่น เพื่อให้บริการการศึกษาและพัฒนาชุมชนแก่ผู้ใหญ่ในเวลากลางคืนและสอนเด็กตั้งแต่อนุบาล-ป.6 ในตอนกลางวัน มุ่งให้สามารถช่วยเหลือตนเองและเป็นพลเมืองดีของชาติ ซึ่งโครงการศศช.นี้ได้รับรางวัลจากองค์การยูเนสโกเมื่อปี 2537 ในฐานะที่เป็นแนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นพื้นฐาน เป็นศูนย์บริการทางการศึกษาของชุมชน โดยมีครูเป็นผู้กระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน และจัดการศึกษา ให้ทุกคนในชุมชนได้เข้ามาเรียนรู้ร่วมกัน ศศช. มีองค์ประกอบ 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านกายภาพ ประกอบด้วย
อาคารศูนย์การเรียน เป็นอาคารเอนกประสงค์ เป็นทั้งห้องสมุด ห้องเรียน และที่พักครู มีความมั่นคง แข็งแรง เหมาะสมต่อการจัดกิจกรรม บริเวณภูมิทัศน์ภายนอก ร่มรื่น สวยงาม เป็นระเบียบ จัดมุมต่างๆ ภายใน ภายนอกอย่างเหมาะสม มีลานกิจกรรม/สนามเด็กเล่น มีแปลงพืชผักสวนครัวและโรงเรือน เลี้ยงสัตว์
2. ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ศศช. จะเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของชุมชน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย ด้วยบริการสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีวัสดุ-อุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมเพียงพอ และมีรูปแบบการจัดกิจกรรมน่าสนใจ หลากหลาย ขอบข่ายในการให้บริการมีดังนี้
1. เตรียมความพร้อมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียน
2. ส่งเสริมการรู้หนังสือสำหรับเด็กและผู้ใหญ่
3. จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กวัยเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
4. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับเยาวชนและผู้ใหญ่วัยแรงงาน
5. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
6. จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
7. จัดการศึกษาตามอัธยาศัย
3. ด้านบุคลากร
ครู ศศช. ผู้ทำหน้าที่จัดการศึกษาประจำที่ ศศช. ต้องเป็นผู้มีอุดมการณ์และศรัทธาในการเป็นครู มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกิจกรรม มีทักษะในการจัดการเรียนการสอน และการผลิตสื่อการเรียน การสอน มีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง ใฝ่หาความรู้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งรับผิดชอบดำเนินงาน ดังนี้
1. สำรวจข้อมูลหมู่บ้าน เพื่อเป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
2. เป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้บริการทางการศึกษากับกลุ่มเป้าหมายอย่าง เหมาะสมกับสภาพและข้อจำกัดของผู้เรียน ดังนี้
2.1 จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนก่อนวัยเรียน และการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2.2 จัดการเรียนรู้ให้กับผู้ไม่รู้หนังสือ
2.3 จัดการเรียนรู้ด้านการพัฒนาอาชีพให้กับผู้สนใจในชุมชน โดยการสำรวจปัญหา/ความต้องการในชุมชน
2.4 จัดการเรียนรู้ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต โดยการจัดทำโครงการต่างๆ ให้ความรู้กับชุมชน เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม/ประชาธิปไตย
3. ประสานงานกับผู้นำชุมชน เครือข่าย ท้องถิ่น ในการจัดกิจกรรม
4. ร่วมประชุมกับชุมชน
5. แนะนำ ให้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ แก่ชุมชน
4. ด้านการบริหารจัดการ
การบริหารงาน ศศช. เป็นไปตามโครงสร้างที่กำหนด โดยมีคณะกรรมการเป็นผู้ประสานงาน ช่วยเหลือ มีแผนการปฏิบัติงานประจำปีและประจำเดือน โดยกำหนดให้ครูส่งแผน/ผลการปฏิบัติงานประจำเดือนทุกเดือน ให้ ศศช. มีคณะกรรมการศูนย์การเรียนฯ มีคณะกรรมการหมู่บ้าน และมีคณะกรรมการจัดทำอาหารกลางวันให้ผู้เรียน และกำหนดให้มีการสรุปและรายงานผลการปฏิบัติงานและกิจกรรมไตรมาสละ 1 ครั้ง มีการตรวจสอบการทำงานโดยครูนิเทศ และมีการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
5. ด้านการบริการชุมชน
ครู ศศช. ต้องส่งเสริมชุมชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านอนุรักษ์ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม ด้านการดูแลที่อยู่อาศัย ด้านการดูแลสุขภาพอนามัย และต้องให้บริการการศึกษาแก่ประชาชนในชุมชนอย่างทั่วถึงทั้งชุมชน (หมู่บ้าน) นำขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณีของแต่ละชุมชน เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ เป็นพื้นที่ดำเนินกิจกรรม และเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีผู้นำและกรรมการ ศศช. เป็นผู้ประสานงาน ให้เกิดความร่วมมือ ร่วมใจ ส่งเสริม สนับสนุน ในฐานะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้รับบริการ โดยมีการกำหนด ดังนี้
1) ชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนการพัฒนา ศศช.
2) ชุมชนมีการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
3) ชุมชนมีจิตสำนึกการพัฒนาด้านการอนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรมชนเผ่า
4) ชุมชนตระหนักและให้ความสำคัญ เรื่องการดูแลสุขภาพ อนามัยของครอบครัว และสภาพความเป็นอยู่ของชุมชน
5) มีการกำหนดกฎ กติกา ข้อบังคับของชุมชน เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนา