ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา
กศน.อำเภอเชียงของ

กศน.อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เป็นสถานศึกษาต้นแบบด้านการส่งเสริมและจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนได้รับรางวัลต่าง ๆ ดังนี้
1.สถานศึกษาแบบอย่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2556 “สถานศึกษาพอเพียง 2556” จากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2557
2.สถานศึกษาผ่านการคัดกรองเป็นสถานศึกษาพอเพียงที่มีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศ ปี 2560 ระดับภูมิภาค จากศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2560
3.สถานศึกษามีผลการปฏิบัติที่เป็นเลิศระดับประเทศประจำปี 2560 จากศูนย์สถานศึกษาพอเพียง มูลนิธิยุวสถิรคุณ เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2560
4.สถานศึกษาผ่านการประเมินเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ปีการศึกษา 2563 จากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2564
การแปรรูปสาหร่ายแม่น้ำโขง
นางมานี จินะราช

ไก/เทา อยู่คู่กับวิถีชีวิตของคนริมน้ำโขงมาช้านาน กลุ่มผู้หญิงจะลงเก็บหรือ “จก” ไกเป็นหลัก และนับว่าเป็นการหาอยู่หากินที่สนุกสนานเมื่อรวมกันไปหลายคน คนภาคเหนือนิยมกินไกเป็นอย่างมาก และไกแม่น้ำโขงขึ้นชื่อว่าเป็นไกที่อร่อย หอม กว่าไกที่อื่น อาหารที่นิยมทำคือ เจี๋ยวไก อีกทั้งยังมีการแปรรูปเป็นไกแผ่นใส่งา ไกทรงเครื่อง และน้ำพริกไก เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว นอกเหนือจากนี้ยังมีการคิดพัฒนาทำเป็นคุกกี้ไก เค้กไก ใส่แกงอ่อม และใส่ลาบ
การทำกระเป๋าผ้า
นางฐิติมน อูปแก้ว

หมู่บ้านหาดบ้ายและบ้านหาดทรายทอง เป็นวัฒนธรรมของคนไทลื้อ มีผ้าทอไทลื้อที่มีลวดลายสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ กลุ่มทำของชำร่วยไทลื้อ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2560 โดยมีนางฐิติมน อูปแก้ว เป็นผู้ก่อตั้ง เป็นการรวบรวมกลุ่มสตรีหมู่บ้านหาดบ้ายและบ้านหาดทรายทองที่มีปัญหาด้านสุขภาพที่ไม่สามารถทำงานหนัก หรือทำการเกษตรได้ มารวมกลุ่ม สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ประยุกต์จากผ้าทอไทลื้อ มาจัดทำเป็นของชำร่วยต่าง ๆ เช่น กระเป๋าผ้า ซึ่งมีราคา 350 – 400 บาท สามารถซื้อเป็นของฝากและใช้เองได้ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากผ้าฝ้าย มีความคิดสร้างสรรค์สามารถออกแบบลวดลายเองได้ ประยุกต์ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทลื้อที่ยังคงเอกลักษณ์นี้ไว้ได้ การใช้กระเป๋าผ้าสามารถลดภาวะโลกร้อนได้ ส่งเสริมสมาชิกกลุ่มให้มีอาชีพและรายได้เสริม เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทลื้อ ผลิตภัณฑ์มีความสวยงาม ราคาเหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค มีการบริหารจัดการภายในกลุ่มที่เป็นระบบสามารถตรวจสอบได้
ผลิตภัณฑ์ไม้กวาดดอกหญ้า
นางบานเย็น ตาอินต๊ะ

กลุ่มไม้กวาดบ้านน้ำม้าใต้ ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมีประธานกลุ่มคือ นางบานเย็น ตาอินต๊ะ เป็นผู้มีประสบการณ์ในการทำไม้กวาดดอกหญ้า และได้ผ่านการฝึกอบรมงานอาชีพงานเฉพาะทาง มากมายจากหลาย ๆ สถานที่ มีความสนใจในงานอาชีพ จึงได้รวบรวมสมาชิกในหมู่บ้านที่สนใจการทำไม้กวาดมาร่วมกันจัดตั้งกลุ่มขึ้นและจดทะเบียนรัฐวิสาหกิจชุมชน ปี 2560 สมาชิกมีทั้งหมด 24 คน เป็นผลิตภัณฑ์ไม้กวาดดอกหญ้า ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ เป็นที่ต้องการของกลุ่มอาชีพ มีการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมาย มีการประชาสัมพันธ์และแนะนำสินค้าจากการใช้ตัวผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์สินค้ามีความโดดเด่นและทันสมัย ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยและราคาเหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค มีการบริหารจัดการภายในกลุ่มที่เป็นระบบสามารถตรวจสอบได้ สมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
ผ้าทอไทลื้อ ศรีดอนชัย
นางแว่นแก้ว ภิรมย์พลัด

การแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ไทลื้อ คือ ผ้าซิ่นของผู้หญิงไทลื้อที่เรียกว่า “ซิ่นตา” ซึ่งเป็นผ้าซิ่นที่มี 2 ตะเข็บ มีลักษณะโครงสร้างประกอบด้วย 3 ส่วน คือ หัวซิ่นสีแดง ตัวซิ่นลายขวางหลากสีต่อตีนซิ่นสีดำ ความเด่นอยู่ที่ตัวซิ่นซึ่งมีริ้วลายขวางสลับสีสดใส และตรงช่วงกลางมีลวดลายที่ทอด้วยเทคนิค ขิดจก เกาะหรือล้วง เป็นลายรูปสัตว์ในวรรณคดี ลายพรรณพฤกษา และลายเรขาคณิต สีสันที่งดงามแปลกตา และเป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นเฉพาะกลุ่ม มีความแตกต่างจากกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อกลุ่มอื่น ๆ ลายผ้าทอผ้าศรีดอนชัย เป็นลายเอกลักษณ์ของชาวไทลื้อ เรียกว่า ลายน้ำไหล ภาษาไทลื้อเรียกว่า ซิ่นเกาะล้วง มีหลากหลายลาย เช่น ลายเกาะพาน ลายเกาะขัน ลายเกาะเครือ คือ เถาวัลย์ต้นไม้ ลายงูลอย (งูลอยอยู่ในน้ำ) และลายเกาะยอดหน่อไม้ ซึ่งเป็นลายจินตนาการของคนเฒ่าคนแก่ที่ไปในป่า เห็นหน่อไม้ก็เอามาเป็นลายผ้า ถือเป็นภูมิปัญญาแบบชาวบ้าน
ผลิตภัณฑ์จากหวาย
นายประพัฒน์ แก้วตา

บ้านหลวง คือชุมชนที่มีป่าหวายมากจึงมีอาชีพตัดหวายควบคู่กับกลุ่มจักสาน หวายในหมู่บ้านหลวง ที่มีมานานกว่า 30 ปี กลุ่มจักสานหวาย กาดชุมชน หมู่ที่ 4 บ้านหลวง ตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย เริ่มจัดตั้งกลุ่มโดยการนำของ นายประพัฒน์ แก้วตา ประธานกลุ่ม เป็นการรวมตัวของคนในชุมชนยังอนุรักษ์การจักสานหวายแบบ
ภูมิปัญญาดั้งเดิม หวายที่ได้แต่ละขนาด ก็เหมาะกับชิ้นงาน ของผู้เฒ่าผู้แก่ที่มีประสบการณ์มาช้านาน จึงได้งานที่ปราณีต สวยงาม และมีคุณภาพ เป็นผลิตภัณฑ์หวายความหลากหลาย เป็นที่ต้องการของกลุ่มอาชีพ มีการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมาย มีการประชาสัมพันธ์และแนะนำสินค้าจากการใช้ตัวผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์สินค้ามีความโดดเด่นและทันสมัย ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยและราคาเหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค มีการบริหารจัดการภายในกลุ่มที่เป็นระบบสามารถตรวจสอบได้ สมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์จากก้านมะพร้าว
นางอารี คำยา

โรงเรียนผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบุญเรือง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ได้เล็งเห็นความสำคัญการประยุกต์ใช้สิ่งของจากวัสดุอุปกรณ์ในท้องถิ่น จึงได้มีการจักสานตะกร้าด้วยทางมะพร้าว เป็นความรู้ ความคิด ประสบการณ์ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปัจจุบันได้พัฒนารูปทรงผลิตภัณฑ์หลากหลายมากยิ่งขึ้น เป็นผลิตภัณฑ์ก้านมะพร้าวผสมหวายเทียม เป็นที่ต้องการของกลุ่มอาชีพ มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผู้บริโภคและกลุ่มเป้าหมาย มีการประชาสัมพันธ์และแนะนำสินค้าจากการใช้ตัวผลิตภัณฑ์ การบรรจุภัณฑ์สินค้ามีความโดดเด่นและทันสมัย ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยและราคาเหมาะสมกับกลุ่มผู้บริโภค มีการบริหารจัดการภายในกลุ่มที่เป็นระบบสามารถตรวจสอบได้ สมาชิกกลุ่มมีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มอย่างต่อเนื่อง
ผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก
นางสาววรางค์ภรณ์ ปาโท้

สมาชิกกลุ่มตำบลห้วยซ้อ ส่วนใหญ่มีอาชีพการเกษตร หากว่างเว้นจากภารกิจการเกษตรก็ไม่มีงานทำ จึงได้รวมกลุ่มกันในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรในการสานโดยใช้วัสดุในการสาน คือ เส้นสานพลาสติก เชือกมัดฟาง ไหมเชือกร่ม ออกขายในเขตพื้นที่ตำบลห้วยซ้อและตำบลใกล้เคียง รวมไปถึงการออกร้านแสดงสินค้าในงานประจำอำเภอ และแสดงสินค้าในงานประจำจังหวัด เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับสมาชิกกลุ่ม โดยมีนางสาววรางค์ภรณ์ ปาโท้ เป็นหัวหน้ากลุ่ม